การตอบสนองภาครัฐ การคุกคามและจับกุม ของ ปฏิกิริยาต่อการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564

ไฟล์:Student protester hit by a tear gas.jpgนักศึกษากำลังได้รับปฐมพยาบาลหลังถูกน้ำผสมสารเคมีในวันที่ 16 ตุลาคม
วิดีโอจากแหล่งข้อมูลภายนอก
ตำรวจจับกุมพริษฐ์ ชีวารักษ์ แกนนำนักศึกษา 14 สิงหาคม 2563, วิดีโอยูทูบ
ตำรวจจับไผ่ ดาวดิน 13 ตุลาคม 2563, วิดีโอยูทูบ

บทวิเคราะห์พบว่าการตอบสนองของภาครัฐได้แก่การใช้กำลังและการคุกคาม การกักขังตามอำเภอใจ การจับกุมและตั้งข้อหา การเผยแพร่ความเท็จ การใช้หน่วยสงครามข่าวสาร (IO) การตรวจพิจารณาสื่อ การประวิงเวลา การขัดขวาง การสนับสนุนกลุ่มนิยมรัฐบาล และการเจรจา[1] ทั้งนี้ การมีอยู่ของหน่วยสงครามข่าวสารที่มีการรณรงค์ไซเบอร์ต่อผู้วิจารณ์รัฐบาลได้รับการเปิดเผยต่อสาธารณะในเดือนกุมภาพันธ์ 2563[2] กรมประชาสัมพันธ์เปิดตัวคลิปโฆษณาชวนเชื่อโจมตีผู้ประท้วง[3]ซึ่งขณะนั้นอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์เป็นทหารได้แก่ พลโท สรรเสริญ แก้วกำเนิด

ยุทธวิธีของทางการไทยประกอบด้วยคำสั่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เพื่อสั่งให้ขัดขวางการชุมนุมของนักศึกษา และรวบรวมชื่อแกนนำผู้ประท้วง การกล่าวหาว่าข้อเรียกร้องของนักศึกษาจะนำไปสู่ความรุนแรง บ้างมีการพาดพิงถึงเหตุการณ์ 6 ตุลา และพฤษภาทมิฬ[4] มหาวิทยาลัยที่สั่งห้ามชุมนุมในพื้นที่ของตน เช่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีข่าวว่าตำรวจบางท้องที่ส่งจดหมายสั่งห้ามจัดการชุมนุมในสถานศึกษา[5] ต่อมาวันที่ 18 สิงหาคม สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานออกประกาศอนุญาตให้นักเรียนจัดการชุมนุมในโรงเรียนรัฐได้โดยห้ามคนนอกเข้าร่วม[6] แต่ในปลายเดือนสิงหาคม มีรายงานว่ามีการกีดกันหรือคุกคามการแสดงออกทางการเมืองอย่างน้อย 109 กรณี[7]

ต้นเดือนสิงหาคม กลุ่มทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนเปิดเผยว่ามียุทธวิธีคุกคามฝ่ายผู้ประท้วงของทางการ เช่น การติดตามหาข้อมูลถึงบ้าน การถ่ายภาพผู้ประท้วงและป้ายข้อความรายบุคคล การปิดกั้นพื้นที่ ฯลฯ[8] จนถึงเดือนตุลาคม 2563 มีผู้ถูกจับกุมอย่างน้อย 167 คน โดยมีการตั้งข้อหาหนักสุดคือปลุกปั่นให้ขัดขืนอำนาจปกครอง รวมทั้งมีการจับกุมเยาวชน 5 คนโดยไม่มีการตั้งข้อหา[9][10] อ้างว่าทราบจากเจ้าหน้าที่ตำรวจตระเวนชายแดนว่าถูกควบคุมตัวไปยังค่าย ตชด. แห่งหนึ่ง[11] ฝ่ายตำรวจอ้างว่าตรวจสอบแล้วไม่พบเหตุดังกล่าว และได้ออกหมายจับนายเวหา หรืออาร์ท แสนชนชนะศึก แอดมินของเพจดังกล่าว ข้อหานำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลอันเป็นเท็จ[10] ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติกล่าวว่า หากผู้ประท้วงไม่อยากถูกจับ ให้ไปประท้วงที่ทุ่งกุลาร้องไห้[12] ตำรวจยึดหนังสือคำปราศรัยของอานนท์ นำภา[13] มีผู้ถูกจับกุมอย่างน้อย 63 คนตาม พ.ร.ก. ฉุกเฉินทั้งที่รัฐบาลอ้างว่าอนุญาตให้มีการชุมนุมภายใต้กฎหมายดังกล่าว [14] ผู้ที่ถูกตำรวจควบคุมตัวบางครั้งพบว่าได้รับบาดเจ็บ[15]

มีรายงานข่าวการคุกคามรูปแบบอื่น เช่น ทหาร​พรานเข้าหาตัวผู้ชุมนุมที่มัสยิดกรือเซะ จังหวัดปัตตานีที่บ้าน[16] เจ้าหน้าที่ตามหาเด็กอายุ 3 ขวบที่ชูสัญลักษณ์ 3 นิ้วต้านรัฐบาล[17] ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล (รุ้ง) และพริษฐ์ ชิวารักษ์ (เพนกวิน) แกนนำ สนท. โพสต์ข้อความว่า มีเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบมาติดตามพวกตนมายังที่พัก คาดว่าเตรียมจับกุมพวกตน[18] นอกจากนี้ พริษฐ์ยังถูกแจ้งความข้อหากระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ด้วย[19] ต้นเดือนกันยายน ตำรวจออกหมายเรียกผู้ประท้วงนักเรียนมัธยมในความผิดตามกฎหมายความมั่นคง[20] กลางเดือนกันยายน ตำรวจเข้าตรวจค้นบ้านพักของ จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา (ไผ่ ดาวดิน) พบป้ายผ้า 17 ผืน[21] ศ. นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักประวัติศาสตร์ไทย แสดงความกังวลว่าหากปล่อยเวลาไปอีก 6 เดือน กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร อาจจัดตั้งฝ่ายต่อต้านได้สำเร็จเหมือนกับครั้งในปี 2519[22]

วันที่ 15 ตุลาคม พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร และตั้งกองอำนวยการร่วมแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง โดยมี พลตำรวจเอก สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นผู้อำนวยการ[23] ซึ่งอาจารย์และนักรัฐศาสตร์กว่า 100 คนเขียนจดหมายเปิดผนึกตั้งคำถามถึงความชอบด้วยกฎหมายของการประกาศดังกล่าว เพราะไม่มีภัยคุกคามต่อความมั่นคงเช่นความรุนแรง[24] ต่อมามีการใช้อำนาจสั่งปิดสื่อ 4 สำนัก ประกอบด้วยประชาไท เดอะรีพอร์ตเตอส์ เดอะสแตนดาร์ดและวอยซ์ทีวี[25] รวมทั้งสั่งปิดแอพพลิเคชันเทเลแกรม[26] แต่ต่อมาศาลมีคำสั่งยกเลิกคำร้อง[27] ตำรวจยังยึดหนังสือที่มีเนื้อหาวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์ของสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน[28] กรุงเทพมหานครอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ชุมนุมนิยมเจ้า[29]

กรุงเทพมหานครให้การสนับสนุนผู้ประท้วงโต้โดยมีการจัดรถส่งคนไปยังที่ชุมนุม[30] และจัดหารถสุขาและรถขยะให้[31]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ปฏิกิริยาต่อการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564 //www.worldcat.org/issn/1999-2521 //www.worldcat.org/oclc/1059452133 //www.worldcat.org/oclc/7179244833 https://thisrupt.co/current-affairs/global-conspir... https://thisrupt.co/current-affairs/whores-sluts-w... https://www.aljazeera.com/news/2020/08/thai-pm-pro... https://www.amarintv.com/news/detail/39223 https://www.asiasentinel.com/p/thailand-shuts-stro... https://asiatimes.com/2020/08/new-generation-of-da... https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/853219